Cop24

ที่ประชุม COP 24 กำหนดมาตรฐานวัดก๊าซเรือนกระจก – โลกห่างเป้าลดการเพิ่มอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส – ก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 4 ปี


  COP24 ย่อมาจาก  (Conference of the Parties of United Nations Framework Climate Change Convention)  

       การประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 24 (24thConference of the Parties of United Nations Framework Climate Change Convention) หรือ COP 24 ซึ่งมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2562 ที่เมืองคาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์ ได้สิ้นสุดไปแล้วหลังจากที่ต้องยืดเวลาปิดการประชุมออกไป 2 วัน เพื่อขยายระยะเวลาในการเจรจา แต่ในที่สุดก็บรรลุเป้าหมายสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติหลักเกณฑ์ใหม่ตามข้อตกลงปารีสที่ได้ลงนามกันตั้งแต่ปี 2558 ที่ทุกประเทศให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง เพื่อลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ท่ามกลางการประท้วงของกลุ่มต่างๆ เป็นระยะๆ หน้าสถานที่จัดประชุม

         นางแพททรีเซีย เอสพิโนซา เลขาธิการ UNFCCC     กล่าวว่า ความสำเร็จของการประชุมที่ฅโปแลนด์แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นโรดแมปนำไปสู่การแก้ไขปัญหา Climate Change รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการกระจายความรับชอบของประเทศต่างๆ ในโลก จากข้อเท็จจริงที่ว่า แต่ละประเทศมีกำลังและความสามารถ รวมทั้งการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน และเป็นการวางพื้นฐานให้เพิ่มความมุ่งมั่นได้มากขึ้นเมื่อมีความสามารถมากขึ้น แม้ยังมีบางส่วนที่ต้องทำงานในรายละเอียดอีกต่อไป แต่นับว่ามีการวางแนวทางการดำเนินงานให้เป็นระบบ
แนวทางปฏิบัติที่การประชุม COP24 ตกลงร่วมกัน ซึ่งบางประเทศเรียกว่า ประมวลกฎเกณฑ์ (Rulebook) นี้เพื่อสนับสนุนให้ภาคีสมาชิกเร่งความพยายามมากขึ้นในการช่วยกันลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ซึ่งมีผลต่อประชากรโลกทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
นายมีเคล กูร์ตีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมโปแลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม COP24 กล่าวว่า ความสนใจของผู้เข้าประชุมทุกกลุ่มนำมาสู่ แผน Katowice Package ที่อยู่บนแนวทางความยั่งยืน แต่ที่สำคัญคือมีผลดีต่อโลก นับว่าเรามีก้าวย่างสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีสฉ
กฎเกณฑ์หลักๆของKatowice Packageได้แก่ กรอบการปฏิบัติที่โปร่งใส เพื่อส่งเสริมความไว้วางใจระหว่างประเทศภาคีสมาชิก ในการดำเนินการแก้ไขปัญหา Climate Change โดยกำหนดแนวทางของประเทศภาคีในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนปฏิบัติ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมาตรการในการลดผลกระทบ
              ทั้งนี้ ประเทศภาคีสมาชิกจะใช้แนวทางเดียวกันในการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดทำรายงาน และการยืนยันความคืบหน้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื่องจากเป็นแนวทางที่มั่นใจได้ว่าทุกประเทศมีการดำเนินการตามมาตรฐานและไม่มีการเบี้ยวข้อตกลง นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางที่เปิดให้ประเทศยากจนสามารถให้เหตุผลและนำเสนอแผนให้สอดคล้องกับกำลังความสามารถได้ หากไม่มั่นใจว่าจะทำได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงานกล่องดินสอจากไม้ไอติม

ประเทศสมาชิกอาเซียน

ภาษาและวัฒนธรรมยุโรป