บทความ

ภาษาและวัฒนธรรมยุโรป

รูปภาพ
ศาสนาและวัฒนธรรมยุโรป ศาสนาของยุโรป นับถือศาสนาคริสต์ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก และมีประชากรชาวยุโรปนับถือศาสนานี้ประมาณร้อยละ77 ของประชากรทั้งหมด การนับถือศาสนาคริสต์ของชาวยุโรป ก็ยังมีการแบ่งแยกออกไปตามนิกาย ซึ่งข้อพึ่งปฏิบัติและวัฒนธรรมก็จะแตกตามกันไปด้วย โดยมีนิกายสำคัญ 3 นิกาย ดังนี้  นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาของกลุ่มประชากรผู้ใช้ภาษาโรแมนซ์หรือภาษาละติน ยกเว้นโรมาเนีย ประชากรนับถือนิกายออร์โธดอกซ์ ประชากรกลุ่มภาษาอื่น เช่น ไอร์แลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย เช็ก สโลวัก ฯลฯ นิกายโปรเตสแตนต์ เป็นศาสนาของกลุ่มประชากร ในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร นิกายออร์โธดอกซ์   เป็นศาสนาของประชากรในประเทศคาบสมุทรบอลข่านและยุโรปตะวันออก เช่น กรีซ บัลแกเรีย มาซิโดเนีย ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย รัสเซีย ยูเครน ฯลฯ วัฒนธรรมของยุโรป ปัจจัยที่ส่งเสริมอารยธรรมของทวีปยุโรป ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่าง มั่นคง กลายเป็นทวีปที่เป็นศูนย์กลางแห่งอารยธรรมยุคใหม่ของโลก ได้แก่ 1. ปัจจัยสภาพทางภูมิศาสตร์ ยุโรปตั้งอยู่ระหว่างกล

สนธิสัญญาริโอเดอจาเนโร(Treaty of Riodejaneiro)

สนธิสัญญาริโอเดอจาเนโร(Treaty of Riodejaneiro) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดก๊าซซึ่งไปเพิ่มปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect) ในชั้นบรรยากาศ ที่ทำให้ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผลของก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวจะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “ภาวะโลกร้อน” ทั้งที่ผิวโลกและในบรรยากาศ เป็นเหตุให้โลกร้อนขึ้นและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นและท่วมบริเวณที่ต่ำ ชายฝั่งทะเล ภูมิอากาศจะแปรเปลี่ยนไปด้วย อุณหภูมิที่สูงขึ้นดังกล่าวจะส่งผลกระทบระบบนิเวศทางธรรมชาติและต่อมวลมนุษย์ด้วย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนายังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำแต่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสังคมและการพัฒนาของตน ประเทศต่าง ๆ จึงควรร่วมมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่อากาศและกำจัดก

Cites

CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora)     คือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับ สัตว์ป่า และ พืชพรรณจากป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์  ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เพื่อปกป้องและคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าจากการใช้ประโยชน์เพื่อการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นมากจนอาจทำให้สัตว์และพืชบางชนิดสูญพันธุ์ได้ ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นสมาชิกอนุสัญญา CITES ทั้งสิ้น 152 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญา CITES เมื่อปี พ.ศ. 2526            ภายใต้อนุสัญญา CITES ประเทศสมาชิกต้องจัดให้มีบทบัญญัติทางกฎหมายที่ใช้บังคับตามข้อกำหนดของอนุสัญญา โดยการห้ามทำการค้าพันธุ์พืชและสัตว์ที่เป็นการละเมิดอนุสัญญา CITES และมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอนุสัญญา CITES จะประชุมกันในทุก 2 ปี เพื่อทบทวนการนำข้อบังคับของ CITES ไปใช้ ตลอดจนเพื่อทบทวนความเหมาะสมของบัญชีสัตว์และพืชที่อยู่ในอนุสัญญาด้วย           สำหรับบัญชีพืชและสัตว์ตามข้อกำหนดของอนุสัญญา CITES (Appendix) สามารถจำแนกตามความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ดังนี้ App

สนธิสัญญากรุงโรม(Treaty of Rome)

สนธิสัญญากรุงโรม(Treaty of Rome)   สนธิสัญญาโรม  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดย เบลเยียม   ฝรั่งเศส   อิตาลี   ลักเซมเบิร์ก   เนเธอร์แลนด์ และ เยอรมนีตะวันตก  คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา    โดย สนธิสัญญามาสตริกต์   ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของ สหภาพยุโรป   เมื่อ สนธิสัญญาลิสบอน มามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009 ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับ ภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคม เศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป

สนธิสัญญาโตเกียว(Treaty of Tokyo)

สนธิสัญญาโตเกียว(Treaty of Tokyo) การประชุม COP 3 ณ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการยกร่างพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นเมื่อ วันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1997 เพื่อจัดการกับ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม  โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญของพิธีสาร ดังนี้          ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ให้มีการปฏิบัติและหรือเพิ่มเติมรายละเอียดในนโยบายและมาตรการตามสถานการณ์ของประเทศ อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน การปกป้องรักษาและการขยายแหล่งรองรับและที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจก โดยต้องกระทำอย่างสอดคล้องกับข้อ ตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การฟื้นฟูป่า และการปลูกป่าการส่งเสริมรูปแบบการเกษตรที่ยั่งยืนโดยการคำนึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการศึกษาวิจัยและส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่รักษาสิ่งแวดล้อมลดหรือเลิกการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสาขาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ จัดให้มีกา

สนธิสัญญาปารีส (Treaty of Paris)

 สนธิสัญญาปารีส (Treaty of Paris) ความตกลงของปารีส   ( อังกฤษ :  Paris Agreement ) เป็นความตกลงตาม กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ความตกลงดังกล่าวเจรจากันในช่วง การประชุมภาคีสมาชิกของยูเอ็นเอฟซีซีซีครั้งที่ 21  ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้รับความเห็นชอบในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558     โลร็อง ฟาบีอุส ประธานที่ประชุมและรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของฝรั่งเศส กล่าวว่าแผนการอัน "ทะเยอทะยานและสมดุล" นี้คือ  " จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์"    ในความพยายาม ลด ภาวะโลกร้อน     เป้าหมาย เป้าหมายของอนุสัญญามีระบุไว้ในข้อ 2 ว่า เพื่อ "ส่งเสริมการบังคับใช้" ยูเอ็นเอฟซีซี ด้วยการ "(ก) ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2  องศาเซลเซียส จากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยตระหนักว่า ความพยายามนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบของการเปลี่ยนแปล

สนธิสัญญาและข้อตกลง

สนธิสัญญาและข้อตกลง           สนธิสัญญา ( Treaty)  หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นเป็น ลายลักษณ์ อักษร   ระหว่างบุคคลในระหว่างประเทศ (รัฐกับรัฐ หรือรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ หรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับองค์การระหว่างประเทศ) และ อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ   โดยมุ่งก่อให้เกิดสิทธิและพันธะทางกฎหมายแก่ภาคีของสนธิสัญญา ไม่ว่าจะทำขึ้นเป็นฉบับเดียวหรือหลายฉบับผนวกกัน    ข้อตกลง( Agreement) หมายถึง เอกสารหรือตราสารที่ตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปทำ ข้อตกลง ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งว่า แต่ละฝ่ายจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ระหว่าง กัน โดยอาจจัดทำ ระหว่าง รัฐกับรัฐ หรือ ระหว่าง รัฐกับองค์การ ระหว่างประเทศ  หรือ ระหว่าง องค์การ ระหว่างประเทศ กับองค์การ ระหว่างประเทศ  หรือ ระหว่าง หน่วยงานภายใน ประเทศ กับหน่วยงาน